วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัดเชียงมั่น

วัดแรกของเชียงใหม่
      
วัดเชียงมั่น


วัดเชียงมั่น ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๑ ถ.ราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วัดนี้เดิมเป็นพระราชวังหรือหอคำที่ประทับของพญา มังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา ต่อมาพญามังรายมหาราชเป็นประธานพร้อมด้วยพญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงสร้างพระเจดีย์ตรงที่ราชมณเฑียรหอประทับของพระองค์ แล้วทรงขนานนามว่า  "วัดเชียงมั่น" ให้เป็นพระอารามแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่

พระเจดีย์ที่พญามังรายทรงสร้างทับหอนอนของพระองค์

พระวิหารหลวง

หอธรรม (หอพระไตรปิฏก) กับพระเจดีย์

พระเจดีย์หุ้มทองจังโก

ธรรมาสน์แบบล้านนา

พระประธาน

กู่ที่ประดิษฐานพระแก้วขาว และ พระศิลา

พระวิหารด้านหน้า

พระแก้วขาวที่ทางวัดต้องสร้างกรงกันมิจฉาชีพไว้ถึง ๒ ชั้น

พระพุทธรูปศิลาปางปราบช้างนาฬาคีรี หรือพระศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปแกะสลัก ฝีมือช่างปาละของอินเดีย 

พระวิหารหลวงด้านหลัง



ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก http://www.chiangmai-thailand.net 



วัดเจ็ดยอด

วัดโพธารามมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ (เดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดเจ็ดยอด) ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่


ป้ายทางเข้าวัดเจ็ดยอด

วัดเจ็ดยอด หรือ วัดเจดีย์เจ็ดยอด เป็นชื่อวัดที่คนทั่วไปในภายหลังกำหนดเรียกขึ้นตามลักษณะเครื่องยอดส่วนบน หลังคาพระวิหารโบราณที่ปรากฏมาแต่เดิมในวัดนี้ ซึ่งก่อสร้างเป็นพระสถูปเจดีย์ มีจำนวนเจ็ดยอดด้วยกัน แต่ชื่อของวัดนี้ที่มีมาแต่เดิมเมื่อคราวแรกสร้างวัด

วัดเจ็ดยอด เป็นวัดวัดโบราณที่พระเจ้าติโลกราช พระราชาธิบดีองค์ที่ ๒๒ แห่งราชวงศ์มังราย โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคด หรือ สีหโคตเสนาบดี เป็นนายช่างทำการก่อสร้าง เมื่อสถาปนาพระอารามสำเร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราชโปรดให้นิมนต์พระมหาเถระ ชื่อ พระอุตตมปัญญา มาสถิตเป็นอธิบดีองค์แรกแห่งหมู่สงฆ์ในอารามนี้

ศิลปกรรมที่มี ความสำคัญเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาซึ่งนำมาโดยพระภิกษุสิหลนิกาย สู่อาณาจักรล้านนาแต่สมัยกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙  โบราณสถานของวัดนี้มีความสำคัญต่อเนื่องด้วยประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่และ มีคุณค่าในทางศิลปกรรมประเภทพุทธศิลป์ในสมัยล้านนาที่น่าสนใจ


ลวดลายปูนปั้น


ซุ้มประตูโขงทางเข้าวัด เป็นช่องทางขนาดใหญ่สำหรับเข้าออกไว้ที่ด้านหน้าของวัด ซุ้มประตูโขงของวัดเจ็ดยอด ก่อด้วยอิฐถือปูน ช่องประตูตอนบนสร้างเป็นรูปครึ่งวงกลม ตัวซุ้มขนาบช่องประตูทำอย่างเสาย่อมุมทั้งสองข้าง หลังช่องประตูโขงขึ้นไปเป็นเครื่องยอดตามแบบขนบนิยมในศิลปสมัยล้านนา

ลวดลายปูนปั้น ประดับตกแต่งกรอบวงโค้งและหางซุ้ม กับลวดลายปูนปั้นเป็นกาบประดับเชิงเสาและปลายเสาย่อมุมประจำสองข้างซุ้มมหาวิหาร

ภายนอกตัวมหาวิหารยังปรากฏลวดลายปูน ปั้นชั้นครูระดับเอก


บรรยากาศภายในวัดเจ็ดยอด

พระสถูปเจดีย์พระเจ้าติโลกราช พระสถูปองค์นี้พระยอดเชียงใหม่ พระราชาธิบดีองค์ที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์มังรา ย
พระราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราช โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระอัฐิของพระเจ้าติโลกราช

กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์พระเจ้าติโลกราช วัดเจ็ดยอด เป็นวัดสำคัญเก่าแก่คู่เมืองเชียใหม่



ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก http://www.chiangmai-thailand.net




วัดสวนดอก



วัดสวนดอก หรือ วัดบุปผาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1]สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วัดสวนดอกในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย โดยในปี พ.ศ. 1914 พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น "พระอารามหลวง" 

เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ "พระมหาเถระสุมน" ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" 1 ใน 2 องค์ ที่ "พระมหาเถระสุมน" อัญเชิญมาจากสุโขทัย

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "พระอารามหลวง" โดยโปรดเกล้าให้สร้าง "พระเจดีย์ทรงลังกา" ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย

พระเจดีย์ทรงลังกา
พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง  คำว่า "ตื้อ" เป็นหน่วยน้ำหนักทองที่เรียกในสมัยนั้น ตื้อเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ 1 ตื้อ เท่ากับ พันชั่ง หรือ ทองคำ 1,000 กิโลกรัม ดังนั้น 9 ตื้อก็เป็นนำหนักทอง 9,000 กิโลกรัม หรือ 9 ตัน ซึ่งก็คงหายากที่จะมี พระพุทธรูปเนื้อทองหนักขนาดนี้

บรรยากาศภายในวัด

พระประทานในวิหาร

ลวดลายประดับภายนอกพระวิหาร

ลวดลายปูนปูัั้นประดับกระจกสีของพระวิหาร
ลวดลายปูนปั้นเทพพนมบนบานประตูของวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ

กู่ที่บรรจุอัฐิของเจ้ารายฝ่ายเหนือ สกุล ณ เชียงใหม่



ประเพณีประจำปีของวัดสวนดอก
1.ประเพณีทำบุญสลากภัต ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือเดือน 11 
2.ประเพณีตั้งธรรมหลวง หรือฟังเทศน์มหาชาติ หลังออกพรรษาแล้วทุกปี 
3.ประเพณีทำบุญสรงน้ำพระบรมธาตุ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหนือทุกปี


ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก http://www.unseentourthailand.com และ http://www.photoontour.com

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร


วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร,
วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา




เดิมวัดเจดีย์หลวง ชื่อ “โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากในภาษาเหนือ หรือคำเมือง หลวงแปลว่า “ใหญ่” หมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่



พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่


วิหารบูรพาจานย์

ภายในวิหารวัดเจดีย์หลวง


พระประทานภายในวิหาร

พระวิหารนอน




เสาอินทขีล หรือ เสาหลักเมือง ตั้งอยู่กลางวิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อปูนตัดกระจกสี รอบเสาวัดได้ ๕.๖๗ เมตร สูง ๑.๓๐ เมตร แท่นพระบนเสาอินทขิลสูง ๙๗ เซนติเมตร รอบแท่นวัดได้ ๒.๔ เมตร บนเสาอินทขิลมีพะรพุทธรูปทองสำริดปางรำพึง ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบก 





บรรยากาศภายในวัดใกล้ค่ำ

วัดเจดีย์หลวงยามค่ำคืน

บรรยากาศภายในวัด



ขอขอบคุณภาพจาก http://www.chiangmai.smileplaza.net และ เที่ยวเชียงใหม่.com

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัดพระสิงห์วรวิหาร



วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคู่เมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


สาเหตุที่วัดี้ มีชื่อว่า “วัดพระสิงห์” นน่าจะเป็นเพราะ ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันว่า “พระสิงห์”


“พระสิงห์” ปัจจุบันวัดพระสิงห์เป็นที่ประดิษฐาน ของ พระพุทธสิหิงค์(หรือพระสิงห์)จำลองศิลปะเชียงแสน ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓๗ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๖๖ เซนติเมตร



วิหารลายคำ เป็นวิหารพื้นเมืองศิลปะล้านนาขนาดเล็ก ภายในเป็นที่ประดิษฐาน"พระพุทธสิหิงค์" ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๑ นิ้ว สูงจากขอบฐานถึงยอดพระเมาลีบัวตูม ๕๑ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง" และมีภาพจิตรกรรมที่สวยงาม




พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน โครงสร้างทำด้วยไม้เนื้อแข็ง สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นเมื่อราวจุลศักราช ๑๒๕๑ - ๑๒๕๒ (พ.ศ.๒๔๓๒ - ๒๔๓๓) ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกสองครั้งคือ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยพระครูสิกขาลังการ และ พ.ศ.๒๕๓๓ โดยพระเดชพระคุณ พระราชสิทธินายก  เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ 



เจดีย์ประธานนี้ ยังเป็นพระเจดีย์ประจำปีเกิด ของผู้เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) อีกด้วย 





หอไตรหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว 
ลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นไม้ มุงหลังคากระเบื้องดินเผา
หันหน้าไปทางตะวันออก  บันไดทางขึ้นด้านหน้าเป็นรูปมกรคาบสิงห์บนแท่นข้างละ ๑ ตัว ซุ้มประตูทางเข้าในส่วนหน้าบันเป็นบุษบกซ้อนกัน ๕ ชั้น แกะสลักลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษา พญานาค และประดับกระจกสี โดยรอบผนังด้านนอกอาคารชั้นล่างประดับด้วยลายปูนปั้น รูปเทวดา และเทพพนม  จำนวน ๑๖ องค์ สัตว์หิมพานต์ อาทิ สิงห์ ช้าง กิเลน ปลา กวาง นกยูง คชสีห์ เหมราช และนรสิงห์ เป็นต้น ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทาสีแดงมีปูนปั้น


ลายปูนปั้น รูปเทวดา และเทพพนม  





     ทุกปีเมื่อถึงช่วงเทศกาลวันสงการนต์ทางราชกาลจึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบกแห่ไปรอบเองเพื่อให้ประชาชนได้พากันมาสรงน้ำ เนื่องในเทศกาลปีใหม่ ตามคติล้านนา คนเกิดปีมะโรงต้องมาไหว้พระสิงห์ให้ได้สักครั้งในชีวิต






ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก http://www.paiduaykan.com